รู้หรือไม่ การแพ้ยานั้นถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

เคยสังเกตมั้ยว่าบางครั้งเราใช้ยาบางชนิดแล้วไม่ได้ผลหรือมีอาการแพ้ยา มากบ้าง น้อยบ้าง บางทีอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว หนึ่งในสาเหตุนั้นอาจมาจาก “พันธุกรรมแพ้ยา” ของเราเอง

การแพ้ยาสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น ถ้าพ่อแม่มีอาการแพ้ยาตัวใดตัวหนึ่งมาก่อน ลูกก็มีโอกาสแพ้ยาตัวนั้นด้วย และอาการแพ้ยาในเด็กแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้

ดังนั้น หากพ่อแม่เคยมีอาการแพ้ยาตัวไหน หรือยาใดที่มีผลข้างเคียงรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาตรวจพันธุกรรมในเด็กเพื่อคัดเลือกยาและปริมาณที่เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุดและลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ศาสตร์ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและการตอบสนองต่อยานี้ เรียกว่าเภสัชพันธุศาสตร์ (Pharmacogenomics) ซึ่งจะช่วยทำให้แพทย์ทราบข้อมูลก่อนการใช้ยาบางประเภทกับผู้ป่วยได้ และมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยตรงคือ

  1. ทำให้การตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้น เพราะแพทย์สามารถเลือกชนิดและขนาดของยาได้อย่างเหมาะสม ตรงตามสาเหตุและกลไกการเกิดโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
  2. ลดความเสี่ยงต่อการแพ้ยา และอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆ ที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเอง เช่น ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ซึ่งแพทย์สามารถหลีกเลี่ยงไปใช้ยากลุ่มอื่นที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าได้

ดังนั้น หากเราทราบว่าพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือคนในครอบครัว เคยมีประวัติแพ้ยา หรือถึงแม้ไม่มีประวัติแพ้ยาในครอบครัว แต่อยากป้องกันการแพ้ยา ก็อาจเข้ารับการตรวจพันธุกรรมเพื่อดูการตอบสนองต่อยาได้ เพราะยังไงสักวันหนึ่งเราก็ต้องมีวันที่ป่วยและใช้ยาอยู่ดี

“รู้ก่อน ป้องกันก่อน กับ Panacura clinic”